วิธีการดูรายละเอียดสเปคคอมพิวเตอร์จากโบชัวร์

spec-computers
วันนี้ได้มีโอกาสไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน (อย่ารู้เลยว่าบ้านอยู่แถวไหน) ต้อนรับลมหนาวแรกของปีเลยครับ เดินไปเดินมาตามภาษาคนมีเวลาว่างเยอะ เลยขนใบปลิวพวกสินค้าคอมพิวเตอร์มาหลายใบอยู่ครับ แว่บหนึ่งก็เลยคิดขึ้นมาว่า เอ เรื่องวิธีการดูรายละเอียดสเปคคอมพิวเตอร์นี่ คนส่วนมากเขาพอรู้กันแล้วหรือยัง (ผมสรุปเอาเองว่า น่าจะเขียนแบ่งปันไว้หน่อยดีกว่าครับ) เลยเป็นที่มาของบทความนี้คุณเคยสับสนกับเรื่องสเปคคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ไหมครับ?”

ผมเคยเป็นมาแล้ว และ(โครต)สงสัยเลยว่า สเปคต่างกันนิดเดียว ทำไมราคามันต่างกันจัง(ว่ะ)

วันนี้ เลยเอาตัวอย่างของสเปคคอมพิวเตอร์อันหนึ่งมาให้ดูกันนะครับ ว่าเราจะมีวิธีการดูสเปคคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจได้โดยง่ายได้อย่างไรกัน (ตามรูปข้างล่างเลยครับ ขออนุญาตไม่เผยชื่อและยี่ห้อนะครับ ด้วยเหตุผลเดิม ผมไม่ได้ค่าโฆษณา 🙂 )

spec-computers

จากในใบปลิวคอมพิวเตอร์เจ้าหนึ่งครับ เราลองมาไล่ดูทีละบรรทัดกันดีกว่า

1. Operating System Microsoft® Windows® 7 Basic
2. Processor AMD Athlon 64 X2 Dual Core 3250e
1.5 GHz with Hyper Transport Technology
3. Chipset AMD RS 780 MN/SB700
4. Memory 2048MB DDR2 (expandable up to 4.0GB) FSB 800 MHz
5. Harddisk 320 GB SATA with 7200 RPM
6. Optical Drive SuperMulti SATA Lightscribe Double Layer (8.5GB)
7. Monitor 18.5” diagonal widescreen BrightView LCD
8. Graphics ATI Radeon TM HD3200 Integrated graphic up to 895MB
9. Connection 10/100 Base-T Network, Wireless 802.11 b/g /nLAN
10. Audio Integrated Stereo Audio
11. I/O ports 6 USB 2.0 ( 2 front 4 rear)
1.3 Megapixel built in camera with microphone
1 1394,  Audio-Out, SPDIF-Out, IR-Out, AC inlet
12. Keyboard xxx  Optical mouse and USB keyboard
13. Warranty 1 year warranty onsite service

1. Operating System หรือ ที่เรียกภาษาไทยว่า ระบบปฎิบัติการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ในชุดนี้เลือกใช้ Windows 7 Basic ซึ่งเป็น Windows เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดเลย หากคุณต้องการที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมาพร้อมระบบปฎิบัติการ windows ด้วย คุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 3,000 บาทขึ้นไปด้วยครับ

2. Processor หรือ ที่เรียกง่ายๆว่า ซีพียู (CPU) ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์ของคุณจะแรงหรือไม่แรง ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญครับ (แต่ราคาก็จะแปรผันไปกับความแรงด้วย)

3. Chipset อันนี้เป็นตัวที่ควบคุมการทำงานที่สำคัญของเมนบอร์ด (แต่บางที่ก็ไม่บอกรุ่นของ Chipset แต่บอกรุ่นของ Mainboard แทนครับ)

4. Memory หน่วย ความจำสำรอง หรือที่เราเรียกว่า แรม (Ram) นั่นแหละครับ มีเยอะยิ่งดี เริ่มต้นควรจะมีที่ 2GB (2048 MB) ครับ แม้ว่าตอนนี้ จะเริ่มมี DDR3 เข้ามา แต่ DDR2 ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ครับ

5. Harddisk เป็น ตัวเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเรา ถ้าถามว่า ความจุสักเท่าไหร่ดี สำหรับผมๆ ว่า 320GB ตามสเปคคอมพิวเตอร์นี้ก็โอเคครับ แต่ถ้าได้ถึง 500 – 1000 GB เลยได้ก็ดีครับ เพราะราคาของ Harddisk ตอนนี้ก็ราคาไม่แพง และได้ความจุที่มากขึ้นเรื่อยๆ ครับ

6. Optical Drive เป็นอุปกรณ์สำหรับการเขียนซีดี หรือ ดีวีดี ซึ่งในปัจจุบันควรที่จะรองรับการเขียน DVD แบบ Double Layer (8.5GB) เป็นพื้นฐานนะครับ (ส่วน Blu-ray นั้น รออีกสักพักดีกว่าครับ)

7. Monitor อัน นี้เป็นจอภาพแสดงผลครับ ซึ่งปัจจุบันจอภาพแบบ LCD ก็มีราคาถูกพอๆ กับจอภาพ CRT แล้ว (บ้านผมเรียกว่า จอตูดใหญ่) ขนาดที่แนะนำก็คือ 19 นิ้ว + Wide Screen ครับ (เผื่อสำหรับการดูหนัง ฟังเพลง และทำงานครับ) ซึ่งในนี้จะเป็น 18.5 นิ้ว ผมว่ามันก็คือ 19 นิ้วนั่นแหละ

8. Graphics ซึ่ง เป็นอุปกรณ์ในส่วนของระบบการแสดงผลของภาพ หรือถ้าคนทั่วไปจะรู้จักกันในนามว่า “การ์ดจอ” (VGA Card) โดยจะมี 2 รูปแบบก็คือ แบบที่ติดมาพร้อมกับ Mainboard (On Board) และแบบที่เป็นอุปกรณ์แยกต่างหาก ( Graphics Card) โดยถ้าเป็นแบบ On Board นั้น จะเหมาะสมกับการใช้งานทั่วไป ไม่เหมาะกับการนำมาใช้เล่นเกมส์ ซึ่งจุดที่สังเกตได้ง่ายว่า คอมพิวเตอร์ในใบปลิวนั้น เป็นแบบ On board หรือไม่ ให้ดูว่ามีคำว่า “Integrated” หรือไม่ ถ้ามี เป็นแบบ On Board นะครับ

9. Connection ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งคอมพิวเตอร์รุ่นนี้จะมี Wireless Lan รวมอยู่ในระบบด้วยครับ

10. Audio ระบบเสียงที่ใช้ครับ คล้ายๆ กับระบบ Graphics ครับ คือ ถ้ามีคำว่า “Integrated” แสดงว่า เป็นระบ Audio On Board ครับ

11. I/O ports เป็นช่องสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ เช่น USB Port , Fire-Wire Port,ช่องสำหรับเสียบไมค์หรือลำโพง ครับ

12. Keyboard + Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ควรจะต้องมีอยู่แล้วครับ

13. Warranty การ รับประกันตัวเครื่อง แล้วแต่ละที่ครับ บางที่ก็ 1 ปี บางที่ก็ 3 ปี อย่าลืมดูด้วยนะครับ ถ้ามีคำว่า Onsite แสดงว่า เขามีบริการที่ซ่อมให้ถึงบ้านด้วยนะครับ (ซึ่งคอมพิวเตอร์แบบประกอบจะไม่มีตรงนี้ครับ)

เป็นอย่างไรบ้างครับ อ่านแล้วพอจะนึกภาพของคอมพิวเตอร์ที่เราอยากจะได้แล้วหรือยังครับ?

บทความนี้เขียนขึ้นโดย Kittin จากเว็บไซต์ manacomputers.com ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาอนุญาต CC 3.0

14 thoughts on “วิธีการดูรายละเอียดสเปคคอมพิวเตอร์จากโบชัวร์

  1. ขอบคุณค่ะ อยากทราบของโน๊ตบุ๊คด้วยนะคะ 

  2. เป็นการเขียนอธิบายที่ ดีมากๆ เลยคับ ผมไห้ 10 คะแนนเต็ม

  3. เอาไปสอนนักเรียน ชั้น ม.4 พอดีเลย อัพเดรสความรู้จากประสบการณ์เยอะๆ นะคะ

  4. ขอบคุณมากค่ะ กำลังหาข้อมูลไปสอน ปวช. พอดีเลย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.