สรุปข่าวไอทีประจำวัน (10 ธันวาคม 2554)

สรุปข่าวไอทีที่น่าสนใจประจำวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 ครับ

 

 

Samsung ตีฆ้องพร้อมขาย “Galaxy Tab 7.0 Plus” ปลายเดือนนี้แล้วจ้า !!!

 

Samsung Thailand ถือฤกษ์งามยามดีเปิดตัว Galaxy Tab 7.0 Plus Tablet ขนาด 7 นิ้วรุ่นที่ 2 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่เคยเปิดตัว Tablet 7 นิ้วที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android Gingerbread เมื่อปีที่แล้ว ส่วนช่วงเวลาจำหน่าย Galaxy Tab 7.0 Plus คาดว่าจะจำหน่ายในช่วงปลายปีนี้ เคาะราคาที่ 15,900 บาท

เรียกว่ามี Tablet มากมายหลายขนาดให้เลือกใช้สอยสำหรับ Samsung ที่ล่าสุดได้ทำการเปิดตัว Galaxy Tab 7.0 Plus Tablet ตระกูล Galaxy รุ่นที่ 2 ทั้งนี้ Galaxy Tab 7.0 Plus จะมีการปรับปรุงรูปโฉมใหม่ภายนอกใหม่ซึ่งมีความแตกต่างจากรุ่นเก่าพอสมควร โดยสเปกภายในจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลดูอัล-คอร์ Exynos 1.2GHz หน้าจอแสดงผลความละเอียด 600×1024 พิกเซล, RAM 1GB และกล้องดิจิตอลหน้า-หลัง ซึ่งกล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหลัง 3 ล้านพิกเซล

ทั้งนี้ทาง Samsung ได้เผยจุดเด่นของ Galaxy Tab 7.0 Plus 4 ดังนี้

  • อย่างแรกได้แก่ ขนาดความบางและความเบาของตัวเครื่องเพื่อเหมาะกับการใช้งานในทุกพื้นที่ ทุกสภาพอากาศ
  • อย่างที่ 2 มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 3.2 Honeycomb และมีขนาดกะทัดรัดพกพาใช้งานสะดวกด้วยขนาด 7 นิ้ว
  • อย่างที่ 3 มีการปรับปรุงสปีดของเครื่องให้ตอบสนองการใช้งานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • และอย่างสุดท้าย Galaxy Tab 7.0 Plus จะมาพร้อมกับการโทรศัพท์ที่ไม่ต้องผ่านอุปกรณ์เสริมอื่นอย่างบลูทูธชนิดที่ว่ายกหูโทรคุยได้เลย

    สำหรับราคาจำหน่าย Galaxy Tab 7.0 Plus ทาง Samsung ได้เคาะราคาของรุ่นนี้ที่ 15,900 บาท และพร้อมวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการปลายปีนี้

 

Do & Don’t สมัครใช้บริการ Roaming !!!

 

‘ประวิทย์’ แนะวิธี Do & Don’t หากคิดสมัครใช้บริการ Roaming เตือนอย่าวางใจ มาตรการจำกัดวงเงินเพราะข้อมูลช้า เผยเหยื่อ Bill Shock ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ นักเรียนนักศึกษา และนักท่องเที่ยว

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า จากการที่ กสทช. ได้รับเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคกรณีปัญหาการคิดค่าบริการระหว่างประเทศ จากการใช้บริการ Roaming พบว่า สาเหตุหลักๆมี 2 ประการคือ ผู้ใช้บริการไม่ทราบเงื่อนไขการใช้บริการ เช่น อัตราค่าโทรออกและรับสาย ไม่ทราบปริมาณข้อมูลที่ใช้ไปจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และ ผู้ใช้บริการไม่ทราบระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ โดยเฉพาะการไม่ทราบว่า Smart Phone มีการเชื่อมต่อข้อมูลอัตโนมัติตลอดเวลา

หาก ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือต้องการสมัครใช้บริการ Roaming สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ ศึกษาข้อมูลการใช้บริการจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการ ศึกษาค่าใช้จ่าย โดยสอบถามรายการการคิดค่าบริการจากผู้ให้บริการ จากนั้นแจ้งกับเครือข่ายผู้ให้บริการเพื่อเปิดบริการที่ต้องการใช้ และปิดบริการที่ไม่ต้องการใช้ ที่สำคัญที่สุดคือจดจำชื่อเครือข่ายและชื่อที่แสดงบนมือถือของเครือข่ายที่ อยู่ในแพ็คเกจที่สมัคร และเมื่อเดินทางไปถึงต้องตั้งค่าเครื่องโทรศัพท์มือถือให้เลือกรับสัญญาณ เฉพาะเครือข่ายตามแพ็คเกจที่สมัคร พร้อมทั้งปิดการรับสัญญาณแบบอัตโนมัติ

“บริการ Roaming มีทั้งในรูปแบบเสียง ข้อความ ข้อมูล ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้ บริการเหล่านี้ได้ โดยเลือกสมัครเฉพาะบริการและปิดในบริการที่ไม่ต้องการใช้ หรือเลือกสมัครทั้งหมดรวมถึงปิดบริการทั้งหมดได้ โดยผู้ใช้บริการแบบรายเดือนต้องสมัครก่อนใช้และการสมัครจะมีผลตลอดไป ยกเว้นแจ้งขอปิดบริการ ส่วนผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน ผู้ให้บริการบางรายอาจเปิดบริการ Roaming ในบางประเภทให้โดยไม่ต้องสมัคร จึงควรสอบถามกับเครือข่ายผู้ให้บริการ และอย่าวางใจว่าวิธีการจำกัดวงเงินสูงสุดหรือ Cap Max ของผู้ให้บริการ จะช่วยจำกัดค่าใช้จ่ายให้ได้ เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องความล่าช้าของการรายงานข้อมูลการใช้บริการระหว่าง เครือข่ายต่างประเทศและผู้ให้บริการของไทยอยู่ จึงพบว่ามีผู้ร้องเรียนจำนวนหนึ่งที่ได้จำกัดวงเงินสูงสุดไว้แต่ยังคงถูก เรียกเก็บค่าบริการเกินจำนวนวงเงินที่จำกัด”

 

3 ปีเร็วขึ้น 10 เท่า เน็ตเวิร์กมีสายไม่มีวันตาย !!!

 

“ภาพรวมตลาดเครือข่ายสื่อสารข้อมูลทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากรายได้ของทีอีในปี 2010 ที่เพิ่มขึ้นถึง 32% เมื่อเทียบกับปี 2009 หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 12,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 363,000 ล้านบาท ถือเป็นดัชนีชี้วัดว่า ตลาดยังไปได้ดี”

เป็นคำกล่าวของ ทิม ทาคาลา ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค บริษัท ทีอี คอนเน็คทิวิตี้ จำกัด และบอกว่า การเติบโตของไวร์เลสก็มีผลต่อระบบเครือข่ายแบบมีสายเช่นกัน แต่การเติบโตของตลาดยังมีอยู่ เพราะเน็ตเวิร์กแบบมีสายยังมีความจำเป็นต่อองค์กรธุรกิจ เนื่องจากระบบเครือข่ายไร้สายยังต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อผ่าน สายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการใช้งานรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ที่นับวันมีปริมาณข้อมูลมหาศาล ซ้ำยังต้องการความเร็วในพื้นที่น้อยที่สุด ส่งผลให้ความต้องการอุปกรณ์เน็ตเวิร์กแบบมีสายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

“ต่อ ไป “Fiber Optic” จะเข้ามาแทนที่ เนื่องจากมีความต้องการใช้สูงขึ้น จากข้อมูลที่มากขึ้น และเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ทำให้ใน 3-5 ปีข้างหน้าสายไฟเบอร์จะเร็วขึ้นอีก 10 เท่า”

ทิม กล่าวถึงแนวโน้มเครือข่ายในอนาคต และบอกว่า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว ปัจจุบันทีอีได้พัฒนาสถาปัตยกรรมการสื่อสารมีสายรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า Altra high entity ในชื่อ “Quareo” เป็นนวัตกรรมที่สามารถจุข้อมูลได้มากกว่า 16 เท่าของอุปกรณ์ทั่วไป ซึ่งปัจจุบันเปิดตัวที่สหรัฐอเมริกา และมีแผนจะนำเข้ามาทำตลาดในไทยประมาณปีหน้า

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.