Rosalind Franklin คือผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ

Rosalind Franklin
คุณรู้จัก DNA ไหมครับ? วันนี้ผมจะพาคุณไปรู้จักกับ Rosalind Franklin คุณอาจจะสงสัยว่าเธอคือใคร และเกี่ยวอะไรกับ DNA มานาคอมพิวเตอร์จะพาไปหาคำตอบกันนะครับ

Rosalind Franklin คือใคร?

เธอมีชื่อเต็มว่า Rosalind Elsie Franklin (ชื่อไทย : โรซาลินด์ เอลซี แฟรงคลิน) นักวิจัยสาวสวยบุคลิกเย็นชา โดยเธอเป็นนักเคมีและผลึกวิทยาชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ ตลอดจนศึกษาโครงสร้างของ อาร์เอ็นเอ และไวรัส เธอเชื่อว่าการไขปริศนาโครงสร้างของดีเอ็นเอ ก็คือการได้ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ ที่มีคุณภาพดีที่สุด มีความคมชัดที่สุดเท่านั้น เธอจึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายภาพเอกซเรย์โครงสร้าง DNA ให้ได้

วันที่ 25 กรกฎาคมนี้ เป็นวันครบรอบวันเกิด 96 ปีของเธอครับ

ประวัติของ Rosalind Franklin

โรซาลินด์ เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 เมื่ออายุได้ 18 ปี โรซาลินด์เข้าศึกษาที่วิทยาลัยนิวน์แฮม (Newnham College) อันเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยเลือกศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์สาขาวิชาเคมี สี่ปีให้หลังจากนั้น เธอได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสอง ซึ่งก็ทำให้สามารถเริ่มชีวิตในฐานะนักวิจัย

เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 เมษายน ในปี พ.ศ. 2501 จากโรคมะเร็งรังไข่ ผลมาจากการทำงานในสถานที่ที่มีรังสีเอกซ์อยู่มาก ทำให้เธอต้องถึงแก่กรรมก่อนวัยอันควร โดยมีอายุรวมได้ 37 ปี 9 เดือน

ผลงานเด่นของ Rosalind Franklin

Photo_51_x-ray_diffraction_image

ผลงานที่รู้จักกันดีของโรซาลินด์ แฟรงคลิน คือ โฟโต 51 หรือภาพถ่ายจากการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ

แต่ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อ เจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้นำข้อมูลของเธอไปใช้ โดยที่เธอไม่ได้รับการขออนุญาตในการนำไปใช้สร้างแบบจำลองซึ่งในการตั้งสมมติฐานว่าด้วยโครงสร้างของดีเอ็นเอโฟโต 51 ได้ให้รายละเอียดยืนยันว่าดีเอ็นเอมีโครงสร้างเป็นรูปเกลียวอย่างชัดเจน

จากเหตุการณ์นี้ ทำให้บทบาทของเธอในการค้นพบดีเอ็นเอถูกมองข้ามไป และมีผลต่อเนื่องทำให้ โรซาลินด์ แฟรงคลิน ไม่เคยได้รับเสนอชื่อให้ได้รับรางวัลโนเบล เนื่องจากข้อบังคับการให้รางวัลได้ห้ามการเสนอชื่อผู้ทำผลงานที่สิ้นชีวิตแล้ว (เธอเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2501) เพื่อนร่วมงานของเธอ ฟรานซิส คริก, เจมส์ วัตสัน และมอริส วิลคินส์ ซึ่งรับช่วงงานต่อ จึงได้รับรางวัลแทนเมื่อปี พ.ศ. 2505 ในฐานะการค้นพบกรดนิวคลีอิกและดีออกซีไรโบนิวคลีอิก

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.