Erwin Schrödinger คือใคร พร้อมประวัติและผลงาน

สำหรับผู้ที่สงสัยว่า Erwin Schrödinger นั้นคือใคร มีความสำคัญหรือผลงานในเรื่องใด วันนี้มานาคอมพิวเตอร์ขอเอาข้อมูลนี้มาเล่าให้ฟังนะครับ Erwin Schrödinger คือใคร? Erwin Schrödinger หรือชื่อไทยว่า แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ ชื่อเต็มว่า Erwin Rudolf Josef Alexander Schrödinger เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวออสเตรีย มีชื่อเสียงในฐานะผู้วางรากฐานกลศาสตร์ควอนตัม โดยเขาเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1933 จาก”สมการชเรอดิงเงอร์” ต่อมาปี ค.ศ. 1935 หลังจากได้ติดต่อกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และได้เสนอแนวคิดการทดลองในจินตนาการ เรื่อง แมวของชเรอดิงเงอร์ (Schrodinger’s Cat) เขาเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1887 (วันนี้จึงเป็นวันครบรอบวันเกิด 126 ปีของเขาครับ) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เข้ารับการศึกษาที่ University of Vienna (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906–1910) และที่ Akademisches Gymnasium (1906) ครับ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มกราคา ค.ศ. 1961 ที่กรุงเวียนนา […]

วันภาษาไทยแห่งชาติ (ความเป็นมา,วัตถุประสงค์)

หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า วันนี้ (29 กรกฎาคม ของทุกปี) เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” วันนี้มานาคอมพิวเตอร์เลยอยากจะขอแนะนำรายละเอียดและความเป็นมาของวันนี้ครับ ประวัติความเป็นมา วันภาษาไทยแห่งชาติ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้…สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 โดยทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ วัตถุประสงค์ของ วันภาษาไทยแห่งชาติ ๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ๒. […]

Rembrandt van Rijn คือใคร? (พร้อมประวัติและผลงาน)

Rembrandt van Rijn อาจจะเป็นชื่อที่แปลกหูหลายๆ คน คุณอาจจะสงสัยว่าเขาคือใคร? มีประวัติและผลงานที่น่าสนใจอย่างไร วันนี้มานาคอมพิวเตอร์ขอเอาเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับบุคคลท่านนี้มาเล่าให้ฟังนะครับ Rembrandt van Rijn คือใคร? เขาเป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ในประวัติศาสตร์ศิลปะยุโรปและเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดรายหนึ่งของโลก และวันที่ 15 กรกฎาคมปีนี้ จะเป็นวันครบรอบวันเกิด 407 ปีครับ ซึ่งถือได้ว่า ผลงานของแรมบรังด์ทำให้เนเธอร์แลนด์รุ่งเรืองสุดขีดหรือที่เรียกว่ายุคทอง (Dutch golden age) ในช่วงศตวรรษที่ 17 และเป็นผู้มีอำนาจทั้งด้านอิทธิพลการเมือง, วิทยาศาสตร์, พาณิชย์ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจิตรกรรม ประวัติ Rembrandt van Rijn Rembrandt van Rijn มีชื่อเต็มว่า แรมบรังด์ ฮาร์เมนซูน ฟาน แรยน์ ส่วนชื่อเต็มในภาษาดัตช์ก็คือ Rembrandt Harmenszoon van Rijn เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2149 เขาเป็นบุตรคนที่ 9 […]

Franz Kafka (ฟรานซ์ คาฟคา) คือใคร? พร้อมประวัติและผลงาน

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ฟรานซ์ คาฟกา (Franz Kafka) เป็นใคร มีผลงานอะไรที่น่าสนใจ วันนี้มานาคอมพิวเตอร์จะขอนำเอาข้อมูลที่น่าสนใจของบุคคลท่านนี้มานำเสนอนะครับ Franz Kafka คือใคร? ฟรานซ์ คาฟกา (Franz Kafka) คือนักเขียนนิยายชาวเช็ก ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 ผลงานเรื่องสั้นที่สำคัญได้แก่ “กลาย” (Metamorphosis) ซึ่งเป็นเรื่องสั้นที่เกี่ยวกับชายหนุ่มที่วันหนึ่งตื่นขึ้นมาแล้วเขากลายเป็นแมลงสาป และ “The Trial” ,“The Castle” , “In the Penal Colony” และ “Amerika” ซึ่งงานเขียนของเขาถือได้ว่ามีอิทธิพลต่องานวรรณกรรมตะวันตกมากที่สุด โดยวันที่ 3 กรกฎาคมปีนี้จะเป็นวันครบรอบวันเกิด 130 ปีของเขาครับ ประวัติของ Franz Kafka เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 เป็นบุตรชายคนเดียวของพ่อค้าชาวยิว ที่กรุงปราก (Prague) เมืองหลวงแห่งแคว้นโบฮีเมีย (Bohemia) ปัจจุบันคือประเทศเช็ก ในด้านการศึกษา คาฟคาเรียนภาษาเยอรมันเป็นภาษาเอก แต่ก็สามารถพูดภาษาเช็กได้อย่างคล่องแคล่ว ด้วยความที่บิดาต้องการได้รับการยอมรับและเชิดหน้าชูตาในสังคม จึงส่งคาฟกาเข้าเรียนในโรงเรียนของเยอรมนีจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เนื่องจากภาษาเยอรมันเป็นภาษาของชนชั้นปกครองในขณะนั้น ในตอนแรกคาฟกาเลือกเรียนวิชาเยอรมันศึกษา […]

Antoni Gaudí คือใคร? พร้อมประวัติและผลงานของเขา

วันนี้เรามีประวัติที่น่าสนใจของบุคคลท่านหนึ่งคือ Antoni Gaudí หลายคนอาจจะสงสัยว่าเขาคือใคร มีผลงานอะไรถึงได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมาก วันที่ 25 มิถุนายนปีนี้ก็ถือว่าเป็นวันครบรอบวันเกิด 161 ปีของบุคคลท่านนี้ครับ Antoni Gaudí คือใคร? Antoni Gaudi เป็นเป็นสถาปนิกที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของสเปนและมีความโดดเด่นในฐานะผู้รังสรรค์ศิลปะแนว Art Neuveau ซึ่งงานของเขาก้าวหน้ากว่าสถาปนิกร่วมสมัย เต็มไปด้วยจินตนาการและความงดงาม  และเป็นผู้สร้างสถาปัตยกรรมที่สวยงามมากมาย โดยผลงานที่โดดเด่นมากชิ้นหนึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกก็คือ อพาร์ตเม้นท์ Casa Mila หรือ La Pedrera ประวัติของ Antoni Gaudí เขาชื่อเต็มว่า Antoni Gaudi y Cornet (อ่านว่า “อันโตนิ เกาดิ อี กอร์เน็ต”) เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ปีค.ศ. 1852 ที่แคว้นคาตาโลเนีย ประเทศสเปน เป็นบุตรคนสุดท้องในครอบครัว มีพี่สาว 2 คนและพี่ชาย 2 คน ในด้านการศึกษา […]