ถ้าคุณได้ดูข่าวทางโทรทัศน์หรือทางอินเทอร์เน็ตในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาก อาจจะได้ยินหรือเห็นข่าวที่เกี่ยวกับของ “การเปิดตัวระบบ Government Cloud Service (G-Cloud)” โดยมีเป้าหมายให้เว็บไซต์ขององค์กรต่างๆ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเป็นการประหยัดในการจัดซื้อ Server สำหรับเว็บไซต์ของแต่ละองค์กร และมีคำๆ หนึ่งที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินนั่นก็คือ “Cloud Computing” วันนี้ทางมานาคอมพิวเตอร์เลยอยากจะเอาเรื่องนี้เข้ามาคุยกันดูครับ
Cloud Computing คืออะไร?
ถ้าลองค้นหาคำๆ นี้จาก Google คุณจะพบว่า คำนี้มีหลายนิยามเป็นอย่างมาก ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง ผมเลยอยากจะขอสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ครับ
คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) ก็คือ แนวคิดการใช้งานทางด้านไอทีที่ใช้วิธีดึงพลังและสมรรถนะจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวจากต่างสถานที่ให้มาทำงานสอดประสานกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนการบริการทางด้านไอที
ยกตัวอย่างเช่น นาย A เป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่มีคนเข้าวันละประมาณ 100,000 คน Server ที่เก็บเว็บไซต์ของนาย A ก็รองรับได้สูงสุดที่ 100,000 คนต่อวัน ไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งเว็บไซต์ของนาย A เกิดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มีคนเข้ามากกว่า 100,000 คนต่อวัน ก็ทำให้เกินกำลังของ server ทำให้เว็บไซต์ล่มใช้งานไม่ได้
แต่ถ้านาย A ใช้ระบบ Cloud Computing โดยคอมพิวเตอร์ Server กลุ่มนี้มีสักสิบเครื่อง เครื่องหนึ่งรองรับคนได้ 100,000 คนต่อวัน ระบบทั้งหมดก็จะรองรับคนเข้าเว็บไซต์ได้สูงถึง 1,000,000 คนต่อวันครับ
ประโยชน์ของ Cloud Computing
ประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งมีอยู่หลายประการ เช่น ช่วยให้การนำไอทีไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าในอดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของตน อีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ คอมพิวติ้งก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงาน หรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที เป็นต้น
หากสรุปเป็นข้อๆ เพื่อให้เห็นประโยชน์ของ Cloud Computing มีดังนี้ครับ
1. ประหยัดการลงทุนเรื่องทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะเปลี่ยนมาเป็นการเช่าระบบแทน ซึ่งทำให้บริษัทที่มีเงินลงทุนจำกัดสามารถมีระบบสารสนเทศที่ดีใช้ได้เท่า เทียมกับบริษัทอื่นๆ
2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะว่าผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรขนาดใหญ่ไว้รองรับผู้ใช้บริการอยู่ แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องมีระยะเวลาการ ออกแบบระบบ สั่งซื้อฮาร์แวร์ และติดตั้งฮาร์ดแวร์ ซึ่งแค่นี้ก็ลดระยะเวลาดำเนินการไปเป็นเดือนเลยทีเดียว
3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ในกรณีที่ระบบของผู้ใช้บริการมีขนาดใหญ่ขึ้นก็ย่อมต้องขยายทรัพยากรให้เพิ่ม ขึ้นตามการใช้งาน ซึ่งระบบที่เป็นของบริษัทเองคงต้องทำการออกแบบและสั่งซื้อและติดตั้งกัน วุ่นวายเสียเวลา ด้วยการใช้บริการ Cloud computing ก็ทำให้การเพิ่มขนาดทรัพยากรนั้นง่ายและรวดเร็วภายในข้ามคืนเท่านั้น
4. ขจัดปัญหาเรื่องการดูแลระบบทรัพยากรสารสนเทศ ออกไปให้ผู้ให้บริการ Cloud computing ดูแลแทน จึงทำให้ลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อ ดูแลระบบอีกด้วย
ตัวอย่างการนำ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ของหน่วยราชการ
ยกตัวอย่างง่ายๆ อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าจะมองเห็นได้ง่ายๆ ก็คือ เว็บไซต์สลากกินแบ่งรัฐบาล จะมีปัญหาเนื่องจากคนเข้าเว็บไซต์เป็นจำนวนมหาศาลจนเว็บล่ม ทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือนช่วงตั้งแต่ก่อนสี่โมงเย็นเป็นต้นไป เปล่าครับ เว็บไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาก็คือ มันเป็นช่วง “หวยออก” ทีนี้ใครๆ อยากรู้ผลสลากกินแบ่งสมัยนี้ก็ไม่ต้องคอยไปรอซื้อใบตรวจหวยจากเด็กที่เร่ขาย แล้ว เพราะเช็คผลจากเว็บไซต์ง่ายกว่า เนื่องจาก Server ของเว็บไซต์สลากกินแบ่งมีแค่เครื่องเดียวหรือจำนวนกลุ่มๆ เดียว เมื่อมีจำนวนคนเข้าเยอะเกินไป ระบบจึงรองรับไม่ไหว ทำให้ระบบเว็บไซต์ล่มบ่อยๆ ครับ
ทีนี้หากราชการทั้งหมดใช้ระบบ Cloud Computing โดยใช้คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง หลากหลายสถานที่มาช่วยในการแชร์ทรัพยากรเพื่อรองรับการเข้าถึงเว็บไซต์ของคน จำนวนมาก ก็จะช่วยไม่ให้เว็บล่ม เพราะกำลังจากเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายเครื่องที่อยู่ในกลุ่ม Cloud Computing เดียวกัน และที่สำคัญเว็บไซต์อื่นๆ ของหน่วยงานราชการก็จะสามารถแชร์พื้นที่และทรัพยากรจากกลุ่มนี้ได้อย่างง่าย ดาย