รายชื่อโปรแกรมรักษาความปลอดภัยหลอกลวง ห้ามดาวน์โหลดเด็ดขาด!!

ในปัจจุบัน ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จะพบปัญหาเรื่องการโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส,มัลแวร์,หนอน,โทรจัน,สแปม ในรูปแบบต่างๆ การติดตั้งโปรแกรมรักษาความปลอดภัยนั่นก็เป็นทางออกทางหนึ่งที่หลายคนเลือกใช้ แต่คุณรู้ไหมครับว่า โปรแกรมรักษาความปลอดภัยหลายๆ ตัวกลับเป็นตัวอันตรายซะเอง!! วันนี้มานาคอมพิวเตอร์จะขอนำเอา รายชื่อโปรแกรมรักษาความปลอดภัยอันตราย ที่ห้ามดาวน์โหลดเด็ดขาด!! มาฝากกันครับ โดยผู้ไม่ประสงค์ดีหลายกลุ่มเลือกใช้วิธีการสร้างโปรแกรมที่มีชื่อคล้ายๆ กับโปรแกรมรักษาความปลอดภัยชื่อดัง หรือทำการตั้งชื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจว่า นี่คือโปรแกรมรักษาความปลอดภัย หรืออาจจะลอกเลียนแบบหน้าตาโปรแกรมดัง เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดและเผลอดาวน์โหลดไปครับ ซึ่งหากคุณเผลอไปติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ คอมพิวเตอร์ของคุณจะตกอยู่ในความเสี่ยงจากการโจมตีสารพัดรูปแบบเลยทีเดียวครับ เรามาดูรายชื่อโปรแกรมอันตรายเหล่านี้ดีกว่าครับ รายชื่อโปรแกรมอันตราย ห้ามดาวน์โหลดเด็ดขาด หมายเหตุ วิธีการตรวจสอบง่ายที่สุดว่าโปรแกรมในเครื่องของคุณเข้าข่ายโปรแกรมหลอกลวงหรือไม่ ให้คุณกด ctrl+F แล้วพิมพ์ชื่อโปรแกรมในเรื่องของคุณดูครับ ถ้ามันแสดงผลในชื่อโปรแกรมสีแดง แสดงว่า เครื่องคุณมีความเสี่ยงจากการใช้โปรแกรมหลอกลวงแล้วครับ Advanced Cleaner AV Security 2012 AKM Antivirus 2010 Pro AlfaCleaner Alpha AntiVirus ANG Antivirus (คนละตัวกันกับ AVG Anti-virus) Antimalware Doctor AntiMalware AntiMalware GO AntiSpyCheck 2.1 […]

การตั้งค่า Facebook ไม่ให้คนอื่นแท็ก(TAG)ชื่อของเรามั่วๆ

หลายคนที่ใช้งาน Facebook อาจจะเคยประสบปัญหาการถูกแท็ก(TAG)ชื่อของคุณไปกับโฆษณาขายตรง,อาหารเสริม,MLM หรือการสแปมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานอย่างเราๆ ท่านๆ กันเป็นอย่างมาก วันนี้มานาคอมพิวเตอร์ขอแนะนำวิธีการตั้งค่าเพื่อไม่ให้ใครต่อใครเอาชื่อคุณไปแท็กมั่วๆ ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้เราสามารถตั้งค่าให้คุณสามารถแท็กชื่อของคุณเองได้เพียงคนเดียว แต่ตอนนี้ทาง Facebook มีการปรับเรื่องคุณสมบัติการแท็กใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นคุณสามารถยอมรับหรือปฎิเสธการแท็กจากผู้อื่นก่อนที่รูปหรือวีดีโอนั้นจะโชว์ครับ การตั้งค่า Facebook ไม่ให้คนอื่นแท็ก(TAG)ชื่อของเรามั่วๆ ขั้นแรกให้คุณคลิ้กตรงรูปฟันเฟืองตรงมุมขวาบนของจอภาพนะครับ เพื่อเข้าสู่การตั้งค่า เมื่อคลิ้กแล้วให้เลือกหัวข้อ “ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว” ครับ ขั้นตอนต่อมาให้คุณเลือกที่ “ไทม์ไลน์และการแท็ก” (หมายเลข 1) เสร็จแล้วเลือกตรงหัวข้อ “ฉันจะจัดการแท็กที่ผู้คนเพิ่มและการแนะนำแท็กได้อย่างไร” โดยคลิ้กตรง “แก้ไข” (หมายเลข 2) ครับ โดย Facebook ได้อธิบายขั้นตอนนี้ไว้ดังนี้ครับ ต้องการตรวจสอบแท็กที่ผู้อื่นแท็กโพสต์ของคุณก่อนที่แท็กจะปรากฏบน Facebook ใช่หรือไม่ เปิด การตรวจสอบแท็กเพื่อตรวจสอบแท็กที่เพื่อนเพิ่มในเนื้อหาของคุณก่อนที่จะ ปรากฏบน Facebook เมื่อมีผู้ที่ไม่ใช่เพื่อนของคุณเพิ่มแท็กในโพสต์ของคุณ คุณจะถูกขอให้ตรวจสอบทุกครั้ง โปรดจำไว้ว่า เมื่อคุณอนุมัติแท็ก ผู้ที่ถูกแท็กและเพื่อนของพวกเขาอาจสามารถเห็นโพสต์ของคุณได้ ความหมายแบบง่ายๆ ก็คือ เมื่อคุณเปิดใช้งานส่วนนี้ ไม่ว่าใครที่แท็กชื่อคุณ ระบบจะส่งข้อมูลมาแจ้งเพื่อขออนุญาตจากคุณก่อนทุกครั้งครับ ให้คุณเลือกที่ “เปิดใช้งาน” […]

การป้องกันและแก้ปัญหาใช้อินเทอร์เน็ต 3G เกินแพคเกจ

ทุกวันนี้หลายท่านที่ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ ต่างก็นิยมสมัครแพคเกจ 3G แบบไม่จำกัด ซึ่งค่ายมือถือส่วนใหญ่ก็มักจะกำหนดแพคเกจแบบใช้ความเร็วแบบ 3G ได้ในปริมาณ 1 -3 GB แล้วแต่ละแพคเกจ บางคนประสบปัญหาหรือกำลังสงสัยว่า “เอ๊ะ ฉันก็ไม่ได้ใช้ 3G สักเท่าไหร่ ทำไมระบบชอบแจ้งว่า ใช้เกินแพคเกจแล้ว” (แล้วก็จะถูกปรับลดความเร็วเป็นเน็ตเต่าถุย) วันนี้ทางมานาคอมพิวเตอร์จะมาร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ   สาเหตุต่างๆ ที่มีส่วนให้คุณใช้แพคเกจ 3G หมดอย่างรวดเร็ว ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือเป็นประจำ ทั้งใช้เพื่อเช็คข้อมูลต่างๆ บนมือถือ หรือเอาไว้ต่อกับ Notebook เพื่อใช้เป็นโมเดมต่อเน็ตเวลาออกนอกสถานที่ ทำให้ผมเป็นกลุ่มที่ใช้ 3G ได้หมดไวกว่าชาวบ้านมาก (เคยลองเอามาดาวน์โหลดไฟล์ ปรากฎว่าเร็วมาก ไม่ถึงชั่วโมง 3G ใช้ครบ 1 GB ซะแล้ว) เมื่อลองมานั่งวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือใช้แพคเกจ 3G หมดอย่างรวดเร็ว ซึ่งพอจะสรุปออกมากได้ดังนี้ครับ 1. มือถือ Smart Phone ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีการรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ด้วยความที่มันเป็นมือถือ(หรือ แทบเล็ต) แบบ Smart […]

แจ้งเตือนอีเมลหลอกลวง (Phishing) จากธนาคารออนไลน์

วันนี้นั่งเปิดอีเมล์เช็คข่าวสาร ได้พบอีเมล์ฉบับหนึ่ง ส่งมาจากธนาคารกรุงเทพ หัวข้อ “แจ้งเตือนอีเมลหลอกลวงลูกค้า (Phishing) / Notification on Phishing Email‏” ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการป้องกันการถูกหลอกจากการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เห็นว่าน่าสนใจและมีประโยชน์แก่หลายท่านที่อาจจะต้องใช้การโอนเงินผ่านทางเว็บไซต์ครับ โดยเนื้อหาในอีเมล์จะเป็นดังนี้ครับ เรียน ท่านสมาชิกบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง เนื่องด้วยในปัจจุบันมีอีเมลหลอกลวง หรือ Phishing ที่ส่งมาจากมิจฉาชีพ โดยอีเมลดังกล่าวจะมีลิงก์เชื่อมโยง (Hyperlink) ซึ่งคล้ายกับ URL ของบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง แต่แท้จริงแล้วคือเว็บไซต์ปลอมแปลงที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นเพื่อล่อลวงให้ท่านกรอกข้อมูลทางการเงินส่วนตัว เช่น รหัสประจำตัว (User ID) รหัสลับส่วนตัว (Password) เลขที่บัญชี หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่รหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password – OTP) เป็นต้น ธนาคารขอเรียนว่า ธนาคารไม่มีนโยบายส่งอีเมลที่มีลิงก์เชื่อมโยง (Hyperlink) เพื่อให้ท่านคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ธนาคาร เพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางบัญชีของท่าน หากท่านได้รับอีเมลแปลกปลอมที่อ้างว่าส่งมาจากธนาคาร กรุณาอย่าคลิกลิงก์ใดๆจากอีเมลดังกล่าว และควรเข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ด้วยการพิมพ์ URL (‘www.bangkokbank.com/ibanking’) […]

วิธีการป้องกันภัยอันตรายจาก Phishing สำหรับผู้ใช้งานธนาคารอินเทอร์เน็ต

เนื่องจากปัจจุบันนี้  เทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากขึ้น ทำให้กิจกรรมการดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ค่อยๆ ผูกพันกับโลกออนไลน์มากขึ้นๆ ทุกที สำหรับการทำธุรกรรมการเงินกับทางธนาคาร ถ้าเป็นสมัครก่อนเวลาจะโอนเงิน ฝากเงิน ถอนเงิน เช็คยอดเงินคงเหลือ เราก็คงต่อถ่อไปธนาคารหรือตู้ ATM แต่เดี๋ยวนี้แค่คุณมีคอมพิวเตอร์หรือมือถือที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ทได้ ก็สะดวกไปหลากหลายอย่าง อยู่บ้านก็สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ แต่เมื่อสะดวกสบายมากเท่าไหร่ ความปลอดภัยในการใช้งานก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น (ถ้าเราไม่ระมัดระวังตัวให้ดี) วันนี้ผมเลยอยากจะขอแนะนำการป้องกันภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า “Phishing” Phishing คืออะไร? ถ้าเอาแบบง่ายๆ Phishing ก็คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญ เช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือโปรแกรมสนทนา   ตัวอย่างของการ Phishing เช่น การบอกแก่ผู้รับปลายทางว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุทำให้คุณต้องเข้าสู่ระบบและใส่ข้อมูลที่สำคัญใหม่ โดยเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปนั้น มักจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บที่กล่าวถึง…” ยกตัวอย่างเช่น นาย A เปิดบัญชีกับธนาคาร DDD โดยขอใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) วันดีคืนดี นาย A ได้รับอีเมล์(ที่อ้างว่า)มาจากธนาคาร DDD ว่า “ทางธนาคารจะทำการอัพเกรดระบบใหม่ ขอให้นาย A […]